วันพฤหัสบดีที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2564

ผลสำรวจประเด็นการวิจัยด้านความมั่นคง ปี 2565

สถาบันการวิจัยและพัฒนายุทธศาสตร์ด้านความมั่นคง (สวพม.) ได้ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นจากบุคคลทั่วไป เกี่ยวกับประเด็น "ด้านความมั่นคงของประเทศไทยที่เห็นควรมีการดำเนินการวิจัย  เพื่อหาสาเหตุ และแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาที่ชัดเจนในด้านวิชาการ"
 

ระยะเวลาสำรวจ ตั้งแต่ 12 ม.ค.2564-31 มี.ค.2564
วัตถุประสงค์ กำหนดกลุ่มประเด็นด้านความมั่นคงเพื่อประกาศให้ทุนอุดหนุนการวิจัยประจำปี 2565 ของ สวพม.  
เนื้อหาการสำรวจ กำหนดประเด็นด้านความมั่นคง จำนวน 16 ประเด็นให้เลือก ซึ่งสามารถเลือกได้มากกว่า 1 ประเด็น โดยประเด็นด้านความมั่นคงทั้ง 16 ประเด็นนำมาจากนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ (พ.ศ.2562-2565) และนอกจากนั้นยังมีประเด็นอื่น ๆ เป็นคำถามปลายเปิดให้เสนอความคิดเห็นด้วย 

ผู้ตอบแบบสำรวจ มีจำนวน ทั้งสิ้น 597 คน สามารถสรุปประเด็นด้านความมั่นคงที่เห็นควรมีการดำเนินการวิจัยเพื่อหาสาเหตุ และแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาที่ชัดเจนในด้านวิชาการ ดังนี้ 

ประเด็นด้านความมั่นคงที่กำหนดไว้ จำนวน 16 ประเด็น เรียงจากมากไปหาน้อยดังนี้  (ตัวเลขด้านหลัง คือ จำนวนความคิดเห็น และจำนวนร้อยละในภาพรวม)
  1. การเสริมสร้างความมั่นคงของสถาบันหลักของชาติและการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (395 ,67.6%)
  2. การสร้างความเป็นธรรม ความปรองดอง และความสมานฉันท์ในชาติ (372,63.7%
  3. การเสริมสร้างความมั่นคงของชาติจากภัยทุจริต (319, 54.6%
  4. การจัดระบบ ป้องกัน และแก้ไขปัญหาผู้หลบหนีเข้าเมือง (291, 49.8%)
  5. การป้องกันและแก้ไขการก่อเหตุรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ (287, 49.1%)
  6. การเสริมสร้างความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (281, 48.1%)
  7. การพัฒนาระบบงานข่าวกรองให้มีประสิทธิภาพ (275, 47.1%)
  8. การเสริมสร้างความเข้มแข็งและภูมิคุ้มกันความมั่นคงภายใน (272, 46.6%)
  9. การรักษาความมั่นคงของฐานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (26345%)
  10. การจัดระบบบริหารจัดการชายแดนเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาข้ามพรหมแดน (258, 44.2%)
  11. การสร้างเสริมศักยภาพการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยคุกคามข้ามชาติ (237, 40.6%)
  12. การปกป้องและรักษาผลประโยชน์แห่งชาติทางทะเล (23339.9%)
  13. การเสริมสร้างความมั่นคงทางพลังงานและอาหาร (229, 39.2%)
  14. การพัฒนาระบบการเตรียมพร้อมแห่งชาติเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงของชาติ (212, 36.3%)
  15. การเสริมสร้างดุลยภาพในการดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ (20835.6%)
  16. การเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพการป้องกันประเทศ (201, 34.4%)
ประเด็นด้านความมั่นคงอื่น ๆ  จากคำถามปลายเปิด
  • การสร้างความมั่นคงทางเทคโนโลยีและวิศวกรรม
  • ความมั่นคงด้านวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น
  • การปฏิรูปกองทัพเพื่อรองรับภัยคุกคามรูปแบบใหม่
  • การป้องกันและการแก้ปัญหาจากโรคระบาดร้ายแรง
  • การเสริมสร้างความมั่นคงทางทะเล
  • ความมั่นคงด้านเศษฐกิจ การเงินระหว่างประเทศ
  • ปัญหาคอรับชั่น  ระบบการศึกษาที่ถดถอย  การใช้พลังงานสะอาด พลังงานธรรมชาติ  เรื่องการหมิ่น อยากให้จัดการโดยเด็ดขาด
  • การเสริมสร้างความร่วมมือในการพัฒนาประเทศเพื่อความมั่นคง
  • ปราบคนไม่ซื่อสัตย์ในระบบราชการให้หมด
  • การพัฒนาระบบการปฏิบัติการข่าวสาร (IO)
  • เสริมสร้างคุณภาพชีวิตของประชาชนในประเทศ
  • หน่วยงานรัฐบางหน่วยงานไม่ตอบสนอง ทำให้เกิด สิ่งที่เรียกว่าช่องว่าง เราจะต้องทำอย่างไร
  • อย่าปิดกั้นนักข่าว
  • ปราบปรามการทุจริตคอรัปชั่น และยาเสพติด
  • ส่งเสริมเด็กๆ ให้มีการรักประเทศไทย  อย่าขายชาติ ให้มีการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ของประเทศไทย และภูมิศาสตร์ อาณาเขต และดินแดนที่ประเทศไทยเราได้เสียดินแดนให้ต่างชาติ  และสอนให้คนไทยรักกัน ไม่ทะเลาะกัน
  • การปกป้องพุทธศาสนาหลักของชาติให้เป็นศาสนาหลัก ป้องกันศาสนาที่นำพาประเทศที่สร้างปัญหาให้ชุมชนเดือดร้อน และส่งเสริมคนต่างด้าวให้เข้ามามีอำนาจในศาสนาหลัก
  • การปราบปรามอิทธิพล และยาเสพติดให้โทษตลอดจนการฟอกเงิน
  • การแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมือง เพื่อเสริมสร้างเศรฐกิจและความมั่นคงของชาติ
  • ปัญหาด้านนักการเมือง และข้าราชการทุจริตคอรัปชั่น
  • การเสริมสร้างวินัยประชาชนให้ยึดมั่นในกฎเกณฑ์
  • ระบบการลงโทษข้าราชการที่ ไม่มีประสิทธิภาพ
  • การประมาณสถานการณ์ การเกิดพายุ
  • ปรับปรุงความมั่นคงภายในของตำรวจ ให้ประชาชนสามารถลงประชามติขับไล่ตำรวจและข้าราชการที่ทุจริตทุกกรมกองได้ 
  • การบูรณาการกำลังอำนาจแห่งชาติทุกด้าน ทุกระดับ เพื่อลดความซ้ำซ้อน และประหยัดงบประมาณของชาติ
ข้อเสนอแนะอื่น ๆ จากคำถามปลายเปิด
  • ควรส่งเสริมให้ประชาชนมีความเข้าใจ คำว่า "ความมั่นคงของชาติ"  คืออะไร
  • ควรมีแนวทางให้เยาวชน ได้รับรู้รับทราบ ในแนวทางที่เยาวชนสามารถร่วมสร้างความมั่นคงของสถาบันที่สำคัญของชาติ และให้เยาวชนตระหนักรู้ในเรื่อง ประชาธิปไตยด้วย เพราะเรื่องความมั่นคงของสถาบันหลักของชาติ ต้องมีแนวทางการปฏิบัติของคนไทยทุกคน ไม่ใช่กลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง
  • แก้ไขนักการเมืองที่สูญเสียอำนาจ และอยากเข้ามามีอำนาจ เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของตัวเอง และคดีความ ของตัวเองและพรรคพวก เป็นเหตุให้ เกิดสถานการณ์ความมั่นคง ในทุก ๆ ด้าน เพราะตัวเองสร้างสถานการณ์ขึ้นมา เพื่อจะล้มล้างรัฐบาล เพื่อจะให้ตัวเองเข้ามามีอำนาจรัฐ ประชาชนและเจ้าหน้าที่รัฐ ก็รับผลประโยชน์ หากโค่นล้มรัฐบาลสำเร็จ และเข้ามามีอำนาจรัฐ เป็นวงจรอุบาทว์ ที่มีกันมาทุกยุคทุกสมัย นี่แหละคือ ปัญหาของประเทศชาติในปัจจุบัน
  • เร่งการปฏิรูปการศึกษาให้เด็กยุคใหม่ได้ศึกษาจารีตประเพณีแต่เก่าก่อนที่ผ่านมาของประเทศไทยให้รู้รักสำนึกในบุญคุณของบรรพบุรุษของประเทศไทย และสั่งสอนให้เด็กยุคใหม่รักในประเทศไทยมากที่สุด
  • ต้องปฏิรูปสถาบันเป็นลำดับแรกเพราะเป็นปัญหาเชิงโครงสร้างที่หมักหมมมานาน ทำให้ประเทศด้อยการพัฒนา
  • อ่านแล้วก็จำเป็นทุก ๆ ข้อ ไม่สามารถเลือกหรือตัดอย่างใดอย่างหนึ่งได้เลย  ความสำคัญของแต่ละข้อลดหรั่นกันไปตามความสมควร
  • ควรมีความสื่อสัตย์ ทำทุกอย่างที่ถูกต้องไม่คดโกง ยึดหลักปฏิบัติตามหลักพุทธศาสนา มีศีลและธรรมประจำใจ ทุกอย่างจะมาตามหัวข้อข้างต้น 
  • อยากให้เราตอบโต้ต่างชาติที่แทรกแซงความมั่นคงของชาติ และควรรายงานให้ประชาชนรับรู้ด้วย
  • การจัดตั้งสถาบันการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเพื่อความมั่นคง
  • การสร้างระบอบธรรมมาธิปไตยภายใต้พระมหากษัติย์ทรงเป็นประมุข
  • ทุกข้อมีความสำคัญโดยเฉพาะอย่างยิ่ง เรื่องที่เกี่ยวข้องกับสถาบันหลักของชาติ
  • เมล็ดพันธ์พืชที่นายทุนผูกขาด และผลิตที่ตัดการถ่ายทอดพันธุกรรมจากพืชผลการเกษตร
  • ควรสร้างจิตสำนึก และปลูกฝัง จิตสำนึกในการ รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ให้แด่อนุชนรุ่นหลัง อย่างเป็นรูปธรรม
  • การจำกัดการนับถือศาสนาอื่น นอกเหนือจากศาสนาพุทธ เพื่อเป็นการเผยแพร่ศาสนาพุทธซึ่งเป็นศาสนาประจำชาติให้มีความเจริญรุ่งเรืองสืบต่อไป
  • คอรัปชั่นในหน่วยงานราชการและการจัดซื้อจัดจ้าง ราคาเกินจริง 300-400% 
  • แก้ไขระเบียบหรือกฏหมายการเลือกตั้ง  ต้องมีประสบการณ์   หรือประวัติการทำงานในภาคสังคม ให้ผู้มีสิทธิ์รับเลือกตั้งเป็นผู้แทนราษฎรควรมีผู้จบ ปวส.ด้วย และ ผู้สมัครรับเลือกตั้ง
  • ด้านวิชาการมันสวนทางกับการลงมือปฏิบัติ

ปัญหาความมั่นคงที่กำลังเกิดขึ้นใหม่อีกครั้ง
28 มี.ค.2564 ชาวกะเหรี่ยง จำนวน 2,000 กว่าคน
หลบหนีการสู้รบระหว่างกองทัพเมียนมากับกองกำลังกะเหรี่ยง
เข้ามาฝั่งไทยใน อ.แม่ะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน
ที่มาของภาพ
 (ฺฺBBC NEWS: https://www.bbc.com/thai/thailand-56564707)

สรุปผลการสำรวจความคิดเห็น
ประเด็นความมั่นคงที่ผู้ตอบแบบสอบถาม เห็นควรให้มีการดำเนินการวิจัยเพื่อหาสาเหตุ และแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาที่ชัดเจนในด้านวิชาการ  5 อันดับแรก จาก 16 ประเด็น  เรียงจากมากไปหาน้อย  อันดับแรก คือ การเสริมสร้างความมั่นคงของสถาบันหลักของชาติและการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (395 ,67.6%)  อันดับที่ 2 การสร้างความเป็นธรรม ความปรองดอง และความสมานฉันท์ในชาติ (372,63.7%อันดับที่ 3 การเสริมสร้างความมั่นคงของชาติจากภัยทุจริต (31954.6%อันที่ 4 การจัดระบบ ป้องกัน และแก้ไขปัญหาผู้หลบหนีเข้าเมือง (29149.8%) และอันดับที่ 5 การป้องกันและแก้ไขการก่อเหตุรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ (28749.1%)

ซึ่งทั้ง 5 อันดับ ล้วนมีความสอดคล้องกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน คือ กระแสการชุมนุมประท้วงของคนรุ่นใหม่ และกลุ่มราษฎรต่าง ๆ ให้มีการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ การร่างรัฐธรรมนูญใหม่ และการขับนายกรัฐมนตรีออกจากตำแหน่ง คนในชาติขาดความสามัคคีปรองดองสมานฉันท์ เกิดความคิดเห็นที่แตกต่าง แบ่งเป็น กลุ่มคนรักและปกป้องสถาบัน และกลุ่มที่เรียกร้องให้มีการปฏิรูปสถาบัน ที่ถูกเรียกว่า พวกชังชาติ รัฐบังคับใช้กฏหมายแบบเลือกปฏิบัติ ขาดความเป็นธรรม และไม่เท่าเทียมกัน มีการทุจริตคอรัปชั่นของรัฐบาลในหลายโครงการ ที่ไม่สามารถชี้แจงและตอบคำถามประชาชนได้  นอกจากนั้นยังเกิดปัญหาผู้หลบหนีเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย นำโรคโควิด-19 มาเผยแพร่จนเกิดการระบาดรอบ 2 ในประเทศไทย รวมทั้งการก่อความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่ไม่มีทีท่าว่าจะยุติลง

งานวิจัยเพื่อหาสาเหตุและแนวทางแก้ไขที่ชัดเจนของประด็นด้านความมั่นคงทั้ง 5 ประเด็น ยังไม่เคยมีผลงานการวิจัยที่เห็นเป็นรูปธรรม โดยเฉพาะเรื่องการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ และสาเหตุที่เกิดความไม่เป็นธรรม ความไม่ปรองดอง และความไม่สมานฉันท์ของคนในชาติ  ส่วนงานวิจัยเกี่ยวกับการทุจริต และการก่อความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ มีการทำวิจัยอยู่บ้างจากหลายหน่วยงาน เช่น กอ.รมน. แต่ผลการวิจัยไม่ถูกนำไปใช้อย่างเป็นรูปธรรม

ผลการสำรวจความคิดเห็นประเด็นด้านความมั่นคงที่เห็นควรมีการดำเนินการวิจัยฯ ที่ได้ในครั้งนี้ ทางสถาบัน SSDRI จะได้นำข้อมูลไปประกอบการพิจารณา กำหนดหัวข้อการวิจัยประจำปีงบประมาณ 2565 เพื่อประกาศรับข้อเสนอให้ทุนอุดหนุนการวิจัยต่อไป 


********************************